🇹🇭
🇹🇭

2021.01.15

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่า “โดจิน คืออะไรกัน?”

 

ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่า “โดจิน คืออะไรกัน?”

ขอต้อนรับสู่โดชิ   ไม่สิ โดจินต่างหากล่ะ!!

 

หากพูดถึงโดจิน โดยทั่วไปแล้วคนจะเข้าใจว่าเป็น “การสร้างสรรค์ผลงานต่อที่สอง ซึ่งมีประเภทหรือแนวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอนิเมะ มังงะ หรือเกมส์ที่ชื่นชอบ” แต่ว่าเดิมทีแล้ว โดจิน คือการ “รวมตัวของบุคคลหรือกลุ่มคน ที่มีงานอดิเรกและเจตนารมณ์เดียวกัน”

 

คำเรียกที่มักใช้ในความหมายเดียวกัน ได้แก่ “กลุ่มคนรัก” หรือ “คลับ” “แวดวงแฟนคลับ (FC)” เป็นต้น ซึ่งเหมือนกับคำว่า “สมาคม”ที่ทุกวันนี้มักจะไม่ค่อยได้ยินกันแล้วแต่ก็มีความหมายที่เหมือนกัน คือ “กลุ่มที่มีการรวมตัวกันจากคนหลายๆคน โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน”

 

สมาคม… เป็นคำที่น่าประหลาดใจ

เมื่อคุณเข้ามาในเวปไซต์นี้ หากได้ยินคำว่าสมาคม ซึ่งคงทำให้รู้สึกประหลาดใจอย่างแน่นอน

 

โดจิน คือ บุคคลหรือกลุ่มคน ที่มีงานอดิเรกและเจตนารมณ์เดียวกัน

https://ja.wikipedia.org/wiki/同人

 

 

ขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อย  คือไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ต่อที่สองจากผลงานที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจะเป็นงานออริจินอลแบบทำใหม่ทั้งหมดเลยก็ตาม การที่มีเพื่อนร่วมแบ่งปันแนวคิดและแนวทางในการทำสิ่งเหล่านั้น  นี่แหละที่เรียกว่า “โดจิน” อาจกล่าวได้ว่าเป็น “ความผูกพัน” ที่จับต้องได้ แม้ว่าเราจะมีความรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับตัวละครเพียงตัวเดียวในอนิเมะแค่เรื่องเดียว แต่ก็ถือว่าเราเป็น “โดจิน” และแม้ว่าเราจะพูดคุยกับ “โดจิน” ในความหมายกว้าง ๆ ก็ถือว่าเราก็เป็น “โดจิน” เช่นเดียวกัน  การที่คุณและเราเข้ามาที่เวปไซต์นี้ ก็ถือว่าเป็น “โดจิน” เช่นเดียวกัน

และมันก็เชื่อมโยงกับคำที่กล่าวในตอนต้นว่า “ยินดีต้อนรับโดจิน” นั่นเอง

 

นอกจากนี้ โดจิน ก็ยังหมายถึงปรัชญาด้วยนะเนี่ย

 

แต่ว่าเราจะไม่พูดถึงแค่เฉพาะ “คำจำกัดความและทฤษฎีทางจิตวิทยา” เหล่านี้เท่านั้น จากนี้เรามาดูประวัติศาสตร์,วัฒนธรรม รวมถึงปัญหาของ “โดจิน” ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นเลย เพื่อความเข้าใจร่วมกันระหว่างคุณและเรา มีบางสิ่งที่อยากให้คุณยกระดับก้นบึ้ง… ในส่วนลึก… ไม่สำคัญว่าจะอยู่ที่ใด แต่มีสิ่งที่อยากจะแสดงให้รับรู้ นั่นคือ “เงื่อนไขทั้งสิบ ” ดังนี้

 

 

เงื่อนไขทั้งสิบของโดจิน

หนึ่ง:มีความรักในผลงานหรือแนวความคิด

 

สอง:มีความรักต่อเพื่อนที่สามารถแบ่งปันความรักได้

 

สาม:มีความรักต่อความเข้าใจยอมรับที่ว่า ความรักมีสิบคนย่อมมีสิบแบบ

 

สี่:รับรู้ว่าความรักไม่ก่อให้เกิดกำไร

 

ห้า:ความรักของเราไม่ใช่สิ่งน่าละอาย

 

หก:อย่าฝืนในการรักคนอื่น

 

เจ็ด:อย่าลืมเคารพต้นฉบับในผลงานสร้างสรรค์ต่อที่สองของคุณ

 

แปด:การฝ่าฝืนกฎหมายและเผยแพร่ผลงานโดจินถือเป็นการดูหมิ่นโดจิน

 

เก้า:ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สร้างผลงาน แต่ผู้ที่มีความรู้สึกร่วมกันในผลงาน ทั้งหมดต่างก็เป็น โดจิน

 

สิบ:ทั้งโลก เต็มไปด้วยโดจิน

 

 

ตอนนี้ก็ได้แนะนำเงื่อนไขทั้งสิบไปแล้ว ทีนี้เรามาดูต้นกำเนิด (ประวัติความเป็นมา)  หรือการเปลี่ยนแปลง, ประเภท และจุดปัญหาของโดจินกันเถอะ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เขียนในหน้านี้ เป็นแค่ความรู้พื้นฐานเท่านั้น ก่อนอื่นอยากให้มีความเข้าใจในความรู้พื้นฐานด้านล่างนี้ก่อน แล้วจึงอยากให้คุณก้าวไปทีละก้าวด้วยเท้าของคุณเอง ในการที่เข้าไปสู่ส่วนที่เป็นเบื้องลึกของโดจิน

 

 

ซามูไรทิ้งดาบและยกพู่กันหรือไม่?“การปรากฏตัวของโดจินด้านวรรณกรรมครั้งแรกของญี่ปุ่น”

 

ญี่ปุ่นที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอารยธรรม โชกุนได้ล่มสลายลง  ในช่วงเวลานี้ก็ได้มีผลงานที่ชื่อว่า เคนยูชะ ถูกสร้างโดยนักเขียนนวนิยายที่ชื่อ โอซากิ โคโยะ เป็นบุคคลที่มีบทบาทเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าเขาเป็น “โดจิน” คนแรกในญี่ปุ่น เขาเคารพรักในความเก่าแก่ แสวงหาความบันเทิงมากกว่าผลกำไร และมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงวรรณกรรม

 

บุรุษแห่งวรรณคดีญี่ปุ่น มีสมาชิกได้แก่ ยามาดะ บิเมียวหรือ อิชิบาชิ ชิอัน, คาวาคามิ บิซัง,อิวายะ ซาสะนามิ เป็นต้น

เคนยูชะ คือชื่อของกลุ่ม มีความหมายว่า “เป็นเพื่อนชั่วนิรันดร์” ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะกล่าวว่าเป็นกลุ่มที่เก่าแก่ที่สุด มีความเป็นตัวตนของ “โดจิน” มากที่สุดในญี่ปุ่น

 

ในเดือนพฤษภาคม ปี1885 เคนยูชะได้เปิดตัวนิตยสารวรรณกรรมเล่มแรกชื่อ กะระคุตะบุงโคะ  นี่คือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ “โดจินชิ” ของญี่ปุ่นเลยทีเดียว

 

ผู้ก่อตั้งโดจินในญี่ปุ่น “โอซากิ โคโยะ” เสียชีวิตในปี1903 และเคนยูชะก็ยุบกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันนั้น อะราระคิ จากสมาคมเพลงสั้น  มาซาโอคะ คาชิคิ หรือ นะซึเมะ โซเซคิ

ก็ได้มีส่วนร่วมตีพิมพ์เผยแพร่ โดจินชิ เป็นจำนวนมาก เช่นโฮะโทะโทะกิสุ เป็นต้น วัฒนธรรมที่เป็นรูปเป็นร่างของโดจิน ได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว

 

ความจริงที่ว่านักเขียนที่ได้กลายเป็นธนบัตร กำลังทำกิจกรรมโดจิน ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่น

และความรู้สึกในใจก็ไม่สามารถซ่อนความผิดหวังไว้ได้

 

ในช่วงทศวรรษที่1910 จิตรกรหลายคนยังประกาศถึงการมีส่วนร่วมในโดจินชิ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรมจนถึงตอนนั้น อีกทั้งมีการตีพิมพ์เผยแพร่โดจินชิ เช่น ชิราคาบะ เป็นต้น

 

กลับมายุคปัจจุบันกันเถอะ

จุดขายของโดจินชิ บางครั้งถูกเรียกว่าเป็น “สนามรบ”

 

ซามูไรที่สูญเสียจิตวิญญาณของดาบในยุคเมจิ เนื่องจากคำสั่งยกเลิกใช้ดาบ อาจได้รับสนามรบใหม่จากวัฒนธรรมโดจินที่เกิดขึ้นในยุคเมจิ จิตวิญญาณซามูไร(ซามูไรสปิริต)ที่หลับใหลในตัวเด็กชายชาวญี่ปุ่น ได้เปลี่ยนดาบเป็นพู่กัน … เปลี่ยนชุดเกราะของเขาเป็นเสื้อยืดพิมพ์ลายตัวละครอนิเมะและเขาก็ยังต่อสู้กันอยู่

 

 

 

จุดจบของการต่อสู้คือแสงสว่างแรกของเพื่อนใหม่?”จากตัวอักษรสู่ภาพ …กระแสคลื่นผลักดันไปสู่มังงะ”

มังงะคืออะไร? คงไม่จำเป็นต้องอธิบายหรอกเนอะ แต่ขอกล่าวถึงประวัติคร่าวๆ

 

สำหรับมังงะที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นคือ ภาพล้อเลียนนกและสัตว์ร้ายที่มีชื่อเสียง กล่าวกันว่า ถูกวาดขึ้นในช่วงสมัยเฮอัน (ปี794-ปี1185) หลังจากนั้นในสมัยเอโดะภาพล้อเลียนก็เริ่มเผยแพร่เป็นชิ้นงานหนึ่ง และพัฒนาเป็นภาพอุคิโยะ อีกทั้งมังงะเรื่องโฮะคุไซของคะซึฮิระ โฮะคุไซ ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นด้วย ในตอนท้ายของยุคเอโดะ นิตยสารมังงะชื่อ Japan Punch ได้รับการตีพิมพ์ที่ย่านอาศัยของชาวต่างชาติในโยโกฮาม่า กล่าวกันว่าเป็นต้นกำเนิดของนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นในปัจจุบัน หลังจากนั้นได้มีการผสมผสานวัฒนธรรมมังงะแบบยุโรป พู่กันที่ใช้สำหรับวาดภาพ ก็เปลี่ยนมาเป็นปากกา เรื่องราวของมังงะก็ได้ถือกำเนิด …และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

 

ในการสร้างประเภท(รูปแบบ)ของมังงะ ซึ่งตอนนี้ขาดไม่ได้เลยที่จะไม่พูดถึงโดจิน ได้ถูกสร้างขึ้นมากที่สุด ญี่ปุ่นทำสงครามโลกมาตั้งแต่ยุคเมจิหลังการล่มสลาย มีทั้งสงครามจีนญี่ปุ่น, สงครามรัสเซียญี่ปุ่น, สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง…ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้ว่าเราจะเข้าสู่ยุคไทโชและยุคโชวะก็ตาม และก็เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง …

 

ทุกอย่างถูกมอดไหม้ ทุกอย่างสูญสิ้น ทุกอย่างตายหมด

ผู้ใหญ่คงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากกัดฟันแน่น เหล่าเด็กน้อยไม่สามารถแม้แต่จะร้องไห้

 

มังงะได้รับความสนใจ ในฐานะหนึ่งในความบันเทิงที่เรียบง่ายในสถานการณ์เช่นนี้ มังงะที่ให้คุณเข้าสู่โลกกว้างเพียงแค่มองมันด้วยความว่างเปล่า…มังงะที่ทำให้คุณมีความฝัน

 

ประวัติศาสตร์ของโดจิน ถูกโยกย้ายไปในปี1946 ซึ่งเป็นปีหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง มีการจัดงานของเหล่าโดจินชิ ที่เรียกว่า “Manga Man” เทซึกะ โอซามุ เทพเจ้าแห่งสังคมมังงะญี่ปุ่นได้เกิดขึ้น เหล่าเด็กชายและเด็กหญิงต่างคลั่งไคล้ในมังงะ และ “S-F Magazine” ซึ่งเป็นนิตยสารมังงะของ SF ที่ปรากฏตัวมากว่าสิบปีหลังจากสิ้นสุดสงคราม

มีการเติบโตอย่างสูง หลังจากก้าวข้ามผ่านสงครามมาได้

จนเป็นที่ตกตะลึงไปทั่วญี่ปุ่น

 

ว่ากันว่ามีคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่พยายามเปิดตัวในฐานะนักเขียนนวนิยายของSF ซึ่งก็ได้สร้างชื่อให้กับตัวเองและเกิดแวดวงโดจินขึ้นมากมาย ในจำนวนนั้น ได้แก่ อิชิโนโมริ โชทาโร่ ผู้สร้าง “มาสค์ไรเดอร์” และ “ไซบอร์ก 009”  และยังมี ฟูจิโกะฟูจิโอะ ผู้โด่งดังจากเรื่อง “โดราเอมอน” และ “นินจาฮัตโตริคุง” ชายผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นสมบัติของโลกมังงะ กำลังบินจากโลกของโดจิน ไปยังโลกแห่งการค้า ทีละคน ทีละคน

 

และในปี1962 มีการจัดงานJapan SF “MEG-CON” ที่เหล่าแฟนๆ SF (โดจิน)มารวมตัวกัน จัดขึ้นที่เมกุโระ โตเกียว จำนวนผู้เข้าร่วมในเวลานั้นอยู่ที่ประมาณ 180คน แต่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลกันอย่างจริงจัง และเกิดแวดวงโดจินใหม่ขึ้น

 

หากพูดถึงSF เหมือนเป็นดั่งคริสตัลที่รวบรวมเสน่ห์แห่งวิทยาศาสตร์ ซึ่งคนทั่วไปทำได้แค่ฝันถึงมันแล้วก็จบ

แต่นักวิจัยทำงานทั้งวันทั้งคืน เพื่อทำให้โลกใบนั้นกลายเป็นจริงขึ้นมา

และในที่สุดโลกแห่งวิทยาศาสตร์ที่เคยสัมผัสได้แค่ในโลกของมังงะเท่านั้น ก็สามารถสัมผัสได้ในรูปแบบวิดีโอ

ภาพยนตร์เรื่อง “2001 A Space Odyssey” ที่ออกฉายในปี 1968 ทำให้วัฒนธรรมSF มีความน่าหลงใหลมากยิ่งขึ้น

แวดวงโดจินที่เปิดตัวในช่วงเวลานี้ บางส่วนได้ขยายไปเป็น บริษัทวางแผนสร้างอนิเมะตามยุคสมัย การผสมผสานระหว่างโดจินมังงะและอนิเมะได้ค่อยๆเป็นจริง

 

 

คอมมิคมาร์เก็ตที่ขายของโดจินชิที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้กำเนิดขึ้น

 

คอมมิคมาร์เก็ตได้ถูกจัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการโตเกียวบิ๊กไซต์

 

วัฒนธรรมของโดจิน ซึ่งยังคงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกาลเวลา…โดยเบื้องหลังยังมีการต่อสู้กันอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ในญี่ปุ่นนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาไม่มีการสู้รบใด ๆ ที่ต้องอาศัยกำลังพลใหญ่

ตามที่กล่าวไว้ในตอนต้น โดจิน แต่เดิมหมายถึง “รวมตัวของบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีงานอดิเรกและเจตนารมณ์เดียวกัน”

 

หลังสงคราม แวดวงโดจินจำนวนมากในญี่ปุ่นได้กระจัดกระจาย เจตนารมณ์ที่แตกต่าง ความคิดที่แตกต่าง…จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการปะทะกัน เพื่อให้โดจินเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไป เราจำเป็นต้องมีภูมิหลังที่เปื้อนเลือดหรือไม่?

 

นี่คงเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สินะ

 

21 ธันวาคม ปี1975 ได้มีการจัดงาน “คอมมิคมาร์เก็ต” ซึ่งเป็นงานขายของโดจินชิครั้งที่1 ที่น่าจำจดเป็นอย่างยิ่ง

 

ได้มีการจัดนิทรรศการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความเห็นต่อมังงะที่มีอยู่แล้ว ซึ่งสนับสนุนโดย “เมคิว” แวดวงโดจินที่เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์มังงะ และยังมีแวดวงโดจินมังงะ และคลับมังงะของมหาวิทยาลัยจำนวนมากเข้าร่วม ว่ากันว่ามีแฟนมังงะประมาณ 700คนมารวมตัวกันในงาน

 

ในหมู่พวกเราชาวญี่ปุ่น (งานขายของโดจินชิ “คอมมิคมาร์เก็ต”) (เรียกว่าเป็น “สนามรบ”) ตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ –

 

โดจินนั้น ได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปพร้อมกับการต่อสู้

 

ในที่สุด โดจินก็ได้สร้าง “สนามรบ” ที่ไม่มีการนองเลือด ด้วยมือของพวกเขาเอง

 

 

และด้วยการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ทำให้เทคโนโลยีการพิมพ์ก้าวหน้าไปด้วย ในช่วงที่เข้าสู่ปี1980 แม้แต่บุคคลทั่วไปสามารถทำหนังสือได้ ยิ่งทำจำนวนมากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ก็จะถูกขึ้นเท่านั้น

 

เดิมทีโดจินเป็นการรวมตัวกันของนักเขียนที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน การเพิ่มขึ้นของมังงะทำให้เกิดนักเขียนการ์ตูน

และด้วยการพัฒนาวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่  ทำให้เกิดการสร้างกลุ่มเพื่อวิพากษ์วิจารณ์ผลงานเหล่านั้น

และแล้วก็ได้เปลี่ยนไปสู่ยุคที่ “ใคร ๆ ก็ส่งผลงานไปทั่วโลกได้” ไม่ได้จำกัดแค่ “คนอ่านหรือคนดู” เท่านั้น รากฐานของโดจินในยุคนี้ ได้มีความแข็งแกร่งชั่วพริบตา จากสนามรบที่ชื่อว่า คอมมิคมาร์เก็ต

 

 

คอมมิคมาร์เก็ตในปัจจุบัน (รู้จักกันในชื่อ คอมิเกะ, คอมิเก็ต) ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการเตรียมคอมมิคมาร์เก็ต ถือว่าเป็นมาเก็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้จัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการโตเกียวบิ๊กไซต์ ในเดือนสิงหาคมและธันวาคมของทุกปี ในคอมมิคมาเก็ต (หรือที่เรียกว่า C97) ซึ่งจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ปี2019 มีผู้เข้าชม 750,000คน เมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าชมที่มีการคาดการณ์ไว้ 950,000คนต่อวันของงานโอลิมปิกโตเกียว  มันได้กลายเป็นเหตุการณ์ (สนามรบ) ที่ไม่สามารถมองผ่านได้สำหรับประเทศ อย่างไม่ต้องสงสัยเลยทีเดียว

 

นอกจากคอมมิคมาร์เก็ตแล้วยังมีการขายของโดจินชิอีกมากมาย ไม่เพียงแต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังจัดขึ้นทั่วโลกอีกด้วย

 

ในญี่ปุ่นแบ่งอีเวนต์ออกเป็น 2แบบ คืออีเวนต์ทุกประเภทที่ไม่จำกัดเนื้อหากิจกรรมใดๆ กับ อีเวนต์ที่มีการจำกัดประเภทของกิจกรรม ในส่วนของงอีเวนต์ที่จำกัดนั้น จะจำกัดไว้เฉพาะเกมอนิเมะโดยระบุชื่ออนิเมะ○○และ จำกัดเฉพาะงานวรรณกรรมที่เป็นออริจินอลเท่านั้น

 

 

ความก้าวหน้าของโดจิน มีการแสดงออกซึ่งไม่ใช่แค่การเขียนและการวาดภาพเท่านั้น

 

●คอสเพลย์

เนื่องจากเป็น “สิ่งที่มองเห็นได้อย่างเป็นรูปร่าง” เช่นอนิเมะและมังงะกลายเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมย่อย ขอบเขตการแสดงออกของโดจินจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะ “การเขียน” และ “การวาดภาพ”

 

การกำเนิดของคอสเพลย์ที่ได้เป็นในสิ่งนั้นๆตามผลงานที่สร้างขึ้นด้วยตัวคุณเอง  ที่มาของคำว่า คอสตูมเพลย์ คือ เป็นคำที่ใช้อธิบายละครย้อนยุค ที่มีความเพลิดเพลินกับการแต่งกายแบบสมัยเก่าในตะวันตก ในญี่ปุ่นเอง บางครั้งก็ใช้หมายถึงการซ้อมเครื่องแต่งกายในช่วงหลังสงคราม

 

ในช่วงทศวรรษที่1980 ผลงานอนิเมะและฮีโร่เอฟเฟกต์พิเศษ ค่อยๆปรากฏขึ้น ผู้คนที่สวมเครื่องแต่งกายเลียนแบบก็เริ่มปรากฏขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้น มี “อุรุเซอิยะซึระ (ทาคาฮาชิ รุมิโกะ) ” ได้สร้างผลงานที่ทำให้คอสเพลย์เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก  ในงานนี้ได้ปรากฏตัวผู้หญิง ที่เป็นนางเอกสวมชุดเซ็กซี่เผยผิวกาย และเธอยังเข้าร่วมในงานอีเวนต์ต่างๆเช่น งานขายของโดจินชิ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดทางทีวีและ “คอสเพลย์” ก็เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นในสังคม

อย่างไรก็ตามในงานคอมมิคมาร์เก็ต23 ที่จัดในปี1983 ตำรวจก็ได้เข้ามาแทรกแซงจัดการพวกชุดคอสเพลย์ที่มีความสุดโต่ง โดยห้ามมิให้ออกนอกสถานที่จัดงานในขณะที่ยังแต่งคอสเพลย์อยู่ คอสเพลย์ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมทั้งในทางดีและไม่ดี

 

ในปี2003  ได้มีการจัด World Cosplay Summit ซึ่งเป็นเทศกาลของชาวคอสเพลย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกนั้น มีการเชิญนักคอสเพลย์จากอิตาลี เยอรมนีและฝรั่งเศส มาเพียง 5คนเท่านั้น

แต่ตอนนี้ได้ขยายตัวเพิ่ม โดยให้มีนักคอสเพลย์จาก 30ประเทศเข้าร่วม

นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยังมีรายชื่อเป็นผู้สนับสนุน ผลักดันให้เติบโตขึ้นเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเทศในระดับที่มีบทบาททางการทูต

 

 

●ซอฟต์แวร์เกม

แฟมิลี่คอมพิวเตอร์ที่วางจำหน่ายในปี1983 เป็นที่นิยมอย่างมาก จนเพิ่มจำนวนผู้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ไปทั่วโลก

จากนั้นแวดวงโดจิน ที่ผลิตซอฟต์แวร์ก็ปรากฏขึ้น ชื่อซอฟต์แวร์โดจิน ที่เก่าแก่ที่สุดคือในคอมมิคมาร์เก็ตปี1984 เป็นแวดวงที่ชื่อว่าTeikoku Soft เขาได้นำซอฟต์แวร์เกมคอมพิวเตอร์ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นเองจริงๆเข้ามา

 

หลังจากนั้นเมื่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์สูงขึ้นอย่างมาก เกมก็ได้รับความนิยม เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะสร้างเกมด้วยตัวเอง ซอฟต์แวร์สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ที่ชื่อ “RPG Maker” ที่พัฒนาโดยบริษัทASCII ได้ปรากฏตัวในที่สุด มันกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ที่เราสามารถสร้างเกมสวมบทบาทตามที่จินตนาการได้

ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ คนธรรมดาทั่วไปต้องใช้ปากกาและกระดาษในการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเอง แต่ RPG Maker ได้สร้างวิธีการใหม่

 

อย่างไรก็ตามในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายเท่าปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม จึงมีข้อ จำกัดในการแพร่ขยาย RPG ที่ตัวเองสร้างขึ้น (แม้ว่าซีรีส์ Maker จะยังคงพัฒนาต่อไปก็ตาม … )

นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงกลางปี1990 เกมนิยายภาพหรือ Visual novel (ประเภทที่ผสมผสานเอฟเฟกต์ เช่นพื้นหลัง, เพลงและเอฟเฟกต์เสียงลงในข้อความ) ได้แพร่หลาย

ซอฟต์แวร์โดจิน ก็เป็นไปตามนี้เช่นกัน จากประเภทของซอฟต์แวร์เกม  ในส่วนของการออกแบบ, สถานการณ์จำลอง, ภาพออริจินอล, โปรแกรม, เพลง ฯลฯ จะถูกแบ่งและพัฒนาภายในกลุ่มอย่างน้อย4 ถึง 5คน

 

 

●ดนตรี

 

ดนตรีเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงออกที่ลืมไม่ได้เลยทีเดียว การสร้างแอนิเมชั่นและเกมที่มีการสร้างสรรค์ต่อที่สอง

เช่นเดียวกับมังงะ การจัดเรียงดนตรีที่ใช้ประกอบเพลงได้มีการแพร่ขยายในการสร้างสรรค์ต่อที่สอง

กล่าวได้ว่าปัจจัยหลักคือ คอมพิวเตอร์ ที่แพร่หลายมาตั้งแต่ทศวรรษ1990 และเดสก์ท็อปมิวสิค (DTM) ที่แต่ละคนสามารถมีครอบครองได้

ในช่วงครึ่งหลังของปี1990 ราคาของค่าใช้จ่ายในการปั้มซีดีถูกลง และเพลงที่ผลิตแต่งเองก็เริ่มจำหน่ายตามจุดขายของโดจินชิ

เพลงที่ทำโดยโดจิน มักสับสนปะปนกับเพลงอินดี้ค่อนข้างมาก แต่เมื่อพูดถึงกิจกรรมโดจิน ผู้สร้างก็คือโดจินนั่นแหละ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการใช้ “VOCALOID” ที่แสดงโดย ฮัตสึเนะ มิกุ ซึ่งเป็นระบบสังเคราะห์เสียงที่พัฒนาโดย YAMAHA เรียกได้ว่าเพลงของโดจินได้ขยายขอบเขตการแสดงที่กว้างขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี

 

 

 

ปัญหาที่เกิดจากการสร้างสรรค์ต่อที่สอง

 

คำจำกัดความของโดจิน คือ “เจตนารมณ์”

ขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะตัดสินใจว่า เจตนารมณ์นั้นจะมุ่งไปทิศทางใด แต่อยากให้นึกถึงเงื่อนไขทั้งสิบ ก่อนหน้านี้

 

เจ็ด:อย่าลืมเคารพต้นฉบับในผลงานสร้างสรรค์ต่อที่สองของคุณ

 

แปด:การฝ่าฝืนกฎหมายและเผยแพร่ผลงานโดจินถือเป็นการดูหมิ่นโดจิน

 

กฎหมายลิขสิทธิ์ มักถูกพูดถึงในการขายของโดจินชิ ในคอมมิคมาเก็ต เป็นความจริงที่เรารู้กันดีว่า เป็นสิ่งไม่ได้มีการละเมิดกฎหมายอย่างแน่นอน (ส่วนใหญ่นะ)

ตัวอย่างเช่น หนังสือเล่มที่วิจารณ์งานวรรณกรรม และพูดถึงความเสน่ห์ความน่าสนใจของรถไฟ พวกเราแค่อยากจะแสดงความเคารพต่อความพยายามของตัวเอง ในการกำหนดเจตนารมณ์และแนวคิดคิดของตัวเอง และเผยแพร่มันออกไปในวงกว้าง

 

แต่ว่า ตามเป็นความจริงที่ว่า มีการสร้างสรรค์ผลงานต่อที่สองเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “○○ Anime Only Events”  อาจกล่าวได้ว่า เป็นการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ คือไม่ได้ต้องการพูดว่ากิจกรรมโดจินให้เสียหาย แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธ อย่างไรก็ตามเราต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ในการดำเนินกิจกรรม นั่นก็คือ กำแพงสูงที่ชื่อว่ากฏหมายลิขสิทธิ์

 

ก่อนอื่นเลยคือ “ตั้งแต่จุดไหนที่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์” แต่ถ้าขีดเส้นแบ่ง จะกลายเป็นว่าทั้งหมดเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลอกหรือเลียนแบบสิ่งที่บุคคลอื่นสร้างขึ้นถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อคุณยืนยันว่าตัวละครที่คุณสร้างเป็นออริจินอล แต่มันแค่คล้ายกับตัวละครในเกมบางเกมเท่านั้น

ซึ่งมันจะถือว่าละเมิดทันที ก็ต่อเมื่อคนอื่นรู้สึกกับตัวละครของคุณว่า “โอ้ตัวละครอันนี้ คือเกมนั้นนี่นา!”

 

อย่างไรก็ตามการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดทางอาญา

เว้นแต่ฝ่ายที่ถูกละเมิดจะยื่นเรื่องว่าจะไม่มีการยื่นฟ้องร้อง

แต่ในกรณีที่ถูกฟ้องร้อง … มีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

 

แล้วทำไมคอมมิคมาเก็ตซึ่งดูเหมือนว่าจะเต็มไปด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ (?) ยังคงจัดขึ้นได้อย่างเปิดเผย?

และทำไมผู้เขียนที่เจ้าของต้นฉบับ ถึงไม่บ่นว่าอะไรเลย?

 

จากมุมมองของผู้เขียนต้นฉบับก็คือ “ทำธุรกิจหรือขายด้วยไอเดียของตัวเอง!” แต่ในทางตรงกันข้าม มีโดจินที่ทำหน้าที่เป็นปากทางเข้าของผู้บริโภคให้ไปยังต้นฉบับ ผู้เข้าร่วมงานขายของโดจินชิ เมื่อเกิดความสนใจ “ตัวละครตัวนี้น่ารักจัง ตัวอะไรนี่ หาดูต้นฉบับกันเถอะ” ซึ่งถือว่าเป็นผลดีสำหรับผู้เขียนต้นฉบับ หากยอดขายและการถูกพูดถึงของต้นฉบับเพิ่มมากขึ้น

การสร้างสรรค์ผลงานต่อที่สอง อาจกล่าวได้ว่า เป็นโฆษณาให้แก่ต้นฉบับแบบฟรีๆ

 

ถึงจะพูดอย่างนั้นก็ตาม แต่ในความเป็นจริงผู้สร้างสรรค์ผลงานต่อที่สอง ไม่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศเหมือนกับที่ได้รับการยอมรับในญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะถูกฟ้องร้อง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ได้คาดหวังว่า จากการที่สร้างสรรค์ผลงานต่อที่สองจะมีการหลั่งไหลไปหาต้นฉบับมากนัก ในทางกลับกัน มีความเป็นไปได้สูงที่ต้นฉบับจะเกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในโลก

 

แต่แล้วทำไม ผู้เขียนต้นฉบับของญี่ปุ่น …ยังแสร้งทำเป็นมองไม่เห็น?

 

ผู้มีชื่อเสียงหลายคนได้ถือกำเนิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของโดจิน และได้สร้างผลงานที่มีคุณภาพสูงไม่ด้อยไปกว่าผลงานเชิงพาณิชย์เลยและสามารถดึงดูดใจของผู้คนได้

ซึ่งเหล่านักเขียนต้นฉบับชาวญี่ปุ่นที่รู้รับเรื่องราวนี้ พวกเขาอาจรู้สึกคาดหวังว่าจะมีคนรุ่นต่อไปที่ยอดเยี่ยมและสร้างผลงานที่พวกเขายังไม่เคยเห็นขึ้นมาก็เป็นได้

 

จงอย่าลืมว่า โดจินผู้สร้างสรรค์ผลงานต่อที่สอง ต่างประกอบด้วยจิตใจอันมุ่งมั่นของผู้เขียนต้นฉบับเหล่านี้

 

เพียงแค่มองเข้าไปในโลกของโดจิน

 

 

มาถึงตอนนี้ ก็ได้อธิบายคำจำกัดความของโดจิน, ประวัติความเป็นมา, รูปแบบหรือประเภท และข้อกฎหมาย แต่ว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพียงแค่คุณมองจากนอกหน้าต่างก็จะเพลิดเพลินไปกับโลกของโดจิน

อย่างไรก็ตามเราหวังว่า เมื่อคุณอ่านบทความนี้ แล้วอยากสัมผัสโดจินสักน้อยนิดก็ยังดี และตั้งแต่วันนี้คุณกับพวกเราก็จะเป็นโดจิน

 

แต่ทว่า หากถามคุณว่า เพียงแค่อ่านบทความในเวปไซต์นี้แล้ว จะทำให้คุณสามารถรักษาแรงจูงใจไว้ได้หรือไม่ คำตอบก็คงจะ…ไม่

คุณอาจจะไม่สามารถเดินต่อไปได้ในโลกของโดจิน

เว้นแต่ว่าคุณจะพบเพื่อนที่มีความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งกว่า

ในกรณีนี้เราอยากให้คุณได้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค

คุณอาจสับสนว่า “จะดูแปลกมั้ยนะ ถ้าอยู่ๆกดFollow” “จะคุยอะไรดีนะ”

แต่การก้าวไปข้างหน้า อาจนำไปสู่การได้พบเจอกับ

โชคชะตา และเราอยากให้คุณมีความสุขสนุกกับโดจินไลฟ์ในแบบของคุณต่อไปนานเท่านาน

 

 




Related Posts