2021.01.17
โดจินมังงะ คืออะไร?
“โดจินมังงะ” เป็นวิธีการแสดงออกทั่วไปของวัฒนธรรมโดจิน
มังงะ … ไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะบอกว่าการ์ตูนญี่ปุ่นได้ก้าวไปสู่ระดับโลกและเป็นหนึ่งในตัวแทนของวัฒนธรรมญี่ปุ่นสมัยใหม่ ศิลปินมังงะยังเป็นอาชีพที่เด็กๆ ใฝ่ฝัน และใน “การประกวดเขียนเรียงเรื่องความฝันของนักเรียนระดับประถมศึกษาครั้งที่8” ที่จัดขึ้นในปี2014 ศิลปินมังงะได้อันดับที่ 9 สำหรับอาชีพที่พวกเด็กๆอยากเป็น
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจัดอันดับความนิยมค่อยๆลดลง เนื่องจากความนิยมของยูทูปเบอร์ค่อยๆสูงขึ้น รวมถึงอาชีพอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามอันดับก็ยังคงสูงอยู่
ยังคงไล่ตามความฝันต่อไป ดั่งไข่ที่รอฟักกลายเป็นศิลปินมังงะ ที่จรดพู่กันทั้งวันทั้งคืน
คิดเรื่องราว เติมแต่งเค้าโครง และใส่จิตวิญญาณลงในตัวละครด้วยตัวเอง
ตอนนี้มังงะมือสมัครเล่น (ไม่ใช่มืออาชีพ) ซึ่งอาจจะทำ “หนังสือเล่ม” หรือ “หนังสืออิเล็กทรอนิกส์” ก็ได้ แต่ถ้าสร้างขึ้นในรูปแบบที่สามารถดูได้เป็นจำนวนมากอย่างไม่จำกัด แบบนั้นจะเรียกว่า โดจินชิ(โดจินมังงะ) ได้ไหมนะ
คำตอบคือ “ไม่”
ก่อนอื่นเลยคือ “จุดยืนและเจตนารมรณ์” ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโดจิน
ตัวอย่างเช่น หากคิดจะนำไปให้สำนักพิมพ์และจะวาดมังงะในเชิงพาณิชย์ ก็จำเป็นต้องพิจารณาแนวโน้มของมังงะที่สร้างกระแสนิยมและความคิดความตั้งใจของสำนักพิมพ์
กล่าวคือ จะทำให้เกิดความสับสนฟุ้งซ่านเข้าไปปะปนใน“จุดยืนและเจตนารมรณ์” ที่โดจินมีอยู่
ในทางตรงกันข้าม หากคุณวาดมังงะตามจุดยืนของตัวเองและแจกจ่ายให้กับผู้คนแบบไม่จำกัด โดยคุณออกค่าใช้จ่ายเอง แบบนี้เรียกได้ว่าเป็นโดจินมังงะ ที่ดำเนินกิจกรรมโดจินได้อย่างดีเยี่ยม
ข้อได้เปรียบของโดจินมังงะ คือคุณสามารถทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระที่ไม่ผูกติดกับอะไรทั้งสิ้น แต่คุณต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วยตัวเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงขอบเขตของการแสดงออก ไม่ว่าเนื้อหาที่มีการทำร้ายหรือใช้กำลังปลุกปล้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเครียดทางจิตใจต่อผู้อ่านมากเกินไป แต่ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร จึงเป็นอิสระอย่างแท้จริง
แน่นอนว่า แม้แต่ในแง่ของสิทธิ ทุกอย่างล้วนเป็นสิทธิของตัวเอง แต่ว่ายกเว้นการสร้างสรรค์ผลงานต่อที่สองนะ
สามารถพูดได้ว่า กิจกรรมโดจินในการเผยแพร่มังงะมีอัตรากำไรดีหรือไม่?
เมื่อไม่นานมานี้ ศิลปินมังงะมืออาชีพ ที่เขียนลงนิตยสารเชิงพาณิชย์ มักจะทำกิจกรรมโดจินอยู่หลายคน
แต่ท้ายที่สุดแล้ว ในโลกของมืออาชีพ ที่มีเรื่องของสิทธิและความนึกคิดอันซับซ้อนได้เข้ามาเกี่ยวพัน จึงทำให้ต้องสูญเสีย “จุดยืนและเจตนารมรณ์” ของตัวเองไป
แม้มันเป็นเรื่องที่ไม่น่ากล่าวถึง แต่ว่า…
มังงะหนึ่งเรื่อง ราคา 500เยนที่ขายในเชิงพาณิชย์ กลับมีกำไรเพียง 50เยน แต่ถ้าจัดทำและเผยแพร่ทั้งหมดด้วยเงินของตัวเอง จะได้กำไรประมาณ 300 ถึง 400เยนเลยทีเดียว
นอกจากนี้ มังงะเชิงพาณิชย์มีประมาณ 200หน้าต่อเล่ม แต่โดจินมังงะทั่วไปมีประมาณ 20 ถึง 30หน้า ความพยายามของการทำหนังสือหนึ่งเล่มถือเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้น
กิจกรรมโดจิน ต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเอง จึงมีความเสี่ยงสูงและผลตอบแทนสูง
แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นที่สงสัยว่า ศิลปินมังงะมืออาชีพที่วาดการ์ตูนโดจิน แต่ได้อัตรากำไรที่ดีแบบนี้ สามารถเรียกว่าเป็น “กิจกรรมโดจิน” ได้หรือไม่
Follow @doujinworld
Writer
Shiro Sato