2021.05.30
ความแตกต่างระหว่าง “การสร้างสรรค์ลำดับ1” และ “การสร้างสรรค์ต่อที่2” ที่คุณควรทราบ
เมื่อคุณทำกิจกรรมโดจิน อาจได้ยินคำว่า “การสร้างสรรค์ลำดับ1″ และ “การสร้างสรรค์ต่อที่2”
คำเหล่านี้เป็นคำที่สร้างขึ้นในสาขาโดจิน และยังเป็นองค์ประกอบที่ต้องทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเมื่อทำกิจกรรมโดจิน
เราขอใช้โอกาสนี้ เขียนอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการสร้างสรรค์ลำดับ1 และ การสร้างสรรค์ต่อที่2 ดังนั้นโปรดทำเข้าใจให้ดีและสนุกกับกิจกรรมโดจิน
สร้างสรรค์ลำดับ1? การสร้างสรรค์ต่อที่2?
ประการแรก “การสร้างสรรค์ลำดับ1” หมายถึง ผลงานดั้งเดิมที่ผู้เขียนคิดขึ้นเองและผลิตขึ้นเองตั้งแต่เริ่มต้น
โดยทั่วไปแล้วลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนเอง และเมื่อมองจากมุมมองของการสร้างสรรค์ต่อที่2แล้ว ผลงานนี้จะถือว่าเป็นต้นฉบับ
อย่างไรก็ตามผลงานที่มีการแยกส่วนและภาคต่อที่สร้างโดยผู้เขียนเอง และผลิตภัณฑ์ที่มีวางขายอย่างเป็นทางการจะรวมอยู่ในการสร้างสรรค์ลำดับ1นี้ด้วย
ถัดไป “การสร้างสรรค์ต่อที่2” หมายถึง งานที่สร้างขึ้นโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวผู้เขียนโดยมีการเซ็ตตัวละครหรือมุมมองต่างๆที่อ้างอิงจากผลงานการสร้างสรรค์ลำดับ1
ไม่ใช่แค่เฉพาะโดจินชิ อย่างเช่นมังงะหรือนวนิยายเท่านั้น แต่การสร้างสรรค์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนำภาพประกอบไปใช้ในสินค้าทั่วไป เช่นพวงกุญแจ, โปสการ์ด, เกม, ซีดี ฯลฯ หากว่านอกเหนือจากผลงานที่คิดค้นและสร้างขึ้นโดยผู้เขียน(ต้นฉบับ) ผลงานเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างสรรค์ต่อที่2ทั้งสิ้น
ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ตามวัฒนธรรมโดจิน ซึ่งคำที่ถูกสร้างขึ้นมาก่อน ก็คือ “การสร้างสรรค์ต่อที่2”
และคำว่า “การสร้างสรรค์ลำดับ1” ได้กำเนิดมาจากการที่คำว่า “การสร้างสรรค์ต่อที่2” ได้มีการถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
ถึงแม้จะเป็นออริจินอล แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างสรรค์ต่อที่2?
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผู้สร้างสร้างตัวละครดั้งเดิม คิดเรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้นรวมถึงฉากพื้นหลัง
แต่ถ้าหากมีตัวละครหนึ่งในผลงานบางชิ้น(ที่ถูกสร้างไว้ก่อนแล้ว) ได้ปรากฏในผลงานเรื่องงานนี้ ยังจะเรียกว่าเป็นงานสร้างสรรค์ลำดับ1 ได้หรือไม่?
คำตอบคือ “ไม่”
แม้ว่าผู้เขียนจะแต่งเนื้อหาเอง 99% แต่หากมีเนื้อหา 1% ที่มาจากองค์ประกอบของผลงานอื่น ผลงานจะเปลี่ยนจากการสร้างสรรค์ลำดับ1 เป็นการสร้างสรรค์ต่อที่2 ทันที
โดยพื้นฐานแล้ว การสร้างสรรค์ต่อที่2ถือเป็นการละเมิดมารยาทในการเผยแพร่ของผลงานต้นฉบับ และห้ามมิให้นำผลงานดังกล่าวไปยังผู้จัดพิมพ์หรือเข้าร่วมการแข่งขันชิงรางวัลที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมโดยเด็ดขาด
โปรดทำความเข้าใจสิ่งนี้ให้ดีและระมัดระวังเกี่ยวกับผลงานที่คุณแต่งขึ้น
สิ่งที่ควรระวังในการทำกิจกรรมโดจิน
โดยปกติแล้ว ลิขสิทธิ์ของผลงานที่สร้างขึ้นจะเป็นของผู้เขียนผลงานสร้างสรรค์ลำดับ1
หากผู้เขียนเจ้าของต้นฉบับ ปฏิเสธต่อต้านผลงานสร้างสรรค์ต่อที่2 และอุทธรณ์ห้ามมีการลอกเลียนแบบ ผลงานที่เป็นการสร้างสรรค์ต่อที่2 จะกลายเป็นการละเมิดกฎหมาย
ผลงานต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนต้นฉบับ ในปัจจุบัน ผลงานสร้างสรรค์ต่อที่2 ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับ ทำให้ราสามารถเพลิดเพลินกับผลงานสร้างสรรค์ต่อที่2 ได้
แต่โปรดเข้าใจว่าการสร้างสรรค์ต่อที่2 เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด (ดังนั้นในงานขายของโดจินชิ จึงใช้คำว่า “การแจกจ่าย”)
อย่างไรก็ตาม เพียงเพราะผู้เขียนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของตัวละครและการเซ็ตเรื่องราว แต่ไม่ได้หมายความว่าผลงานของผู้เขียนจะไม่มีลิขสิทธิ์
โดยปกติแล้ว ลิขสิทธิ์ของผลงานที่ถูกสร้าง จะเกิดขึ้นโดยผู้สร้าง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์อัปโหลดที่ผิดกฎหมาย อย่างมังงะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่หนึ่งในนั้นก็มีเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงถูกปิดตัวลง แต่ก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของฉัน
ในขณะเดียวกันเว็บไซต์อัปโหลดที่ผิดกฎหมายของโดจินชิก็ได้ถูกทำลายลงในลักษณะเดียวกัน และก็อาจจะค่อยๆปิดตัวลงหรือเปล่านะ?
เห็นได้ชัดว่าการอัปโหลดโดจินชิที่มีลิขสิทธิ์ยังผิดกฎหมาย นับประสาอะไรกับการแสวงหาผลกำไรจากมัน ซึ่งก็ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ ต้องระมัดระวังกิจกรรมที่อาจผิดกฎหมาย เช่นการอัปโหลด และก็ระวังอย่าใช้งานเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมายด้วย
อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์ต่อที่2 คือการยืมผลงานที่ผู้เขียนได้สร้างขึ้น
เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อสร้างสรรค์ผลงานต่อที่2 เราอยากให้คุณปฏิบัติต่อผลงานต้นฉบับด้วยความเคารพเสมอ
และถ้าคุณสนุกกับงานสร้างสรรค์ต่อที่2 และผลงานที่คุณชื่นชอบได้กลายเป็นโอกาสในการพัฒนาผลงานนั้นๆ มันก็เป็นผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมแล้วไม่ใช่หรือ?
Follow @doujinworld