2021.03.11
【นักวิจัยสังคมศาสตร์: คาซึมิ นากามูระ / เลโร่】เพราะมีสองบทบาทจึงรู้สึกได้
ในห้องประชุมของบริษัท เรากำลังรอคาซึมิ นากามูระซัง นักสังคมศาสตร์ ผู้ที่เราจะสัมภาษณ์ในวันนี้ ที่ผ่านมาเราได้มีการสัมภาษณ์นักแต่งคอสเพลย์หรือ Vocaloid-P ซึ่งเป็นการพูดคุยกับบุคคลที่ให้บรรยากาศเบาสบายกว่านี้ ขอภัยที่พูดออกมาแบบนี้ แต่บุคคลที่เราจะสัมภาษณ์ในวันนี้ค่อนข้างวิชาการ จนทำให้เรารู้สึกกังวลว่า ตอนพูดคุยจะมีการใช้คำศัพท์เฉพาะทางแบบรัวๆหรือเปล่านะ
แกร็ก …ประตูได้เปิดออก
ย..ยิน..ยินต้อนรับ! !! เราได้ใช้ความพยายามในการกล่าวทักทาย …
น่าแปลกใจมาก ที่บรรยากาศได้เปลี่ยนไปขนาดนี้ เพียงแค่มีเมดแค่คนเดียวอยู่ในบริษัท
“ยินดีต้อนรับกลับมาค่ะ”
เอ๊ะ? ?? มีเมดอยู่ที่นี่ด้วยหรอ เราต้องเป็นฝ่ายต้อนรับนักวิจัยสังคมศาสตร์ที่มาเยือนบริษัท แต่ทำไมกลับเป็นเราที่เป็นฝ่ายถูกต้อนรับล่ะ
วิธีคิดที่ใกล้เคียงกับวิธีการทำงานของเมด
พลังของเมดหรือสาวใช้นั้นน่าทึ่งมาก เพียงแค่มีเมดคนเดียวในบริษัท บรรยากาศก็รู้สึกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อยากถามว่าจะรับน้ำชาไหม แต่ก็รู้สึกหนักใจตัวเองจริงๆ เพราะเวลานี้เมดได้กลายเป็นแขกของเราไปเสียแล้ว
ใช่แล้ว คาซึมิ นากามูระซัง ซึ่งทำงานเป็นนักวิจัยสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาเคโอ ด้านการวิจัยและเขียนวิทยานิพนธ์ และเธอยังทำงานในฐานะของเมดภายใต้ชื่อ เลโร่ อีกด้วย ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกเธอว่า เลโร่ซัง! อย่างไรก็ตามการวิจัยทางสังคมศาสตร์และเรื่องราวขอวเมด … เราไม่คิดว่ามันจะมีความเกี่ยวข้องใดๆต่อกัน แต่ทำไม? ขอเริ่มถามจากคำถามนี้ก่อนเลย
“มันก็จริงที่พูดถึงสังคมศาสตร์กับเมด ก็รู้สึกว่ามันไม่มีความเข้ากันเลย แต่ความจริงแล้วมันเกี่ยวข้องกันลึกซึ้งมาก”
เลโร่ซังเริ่มพูดขึ้น แล้วสังคมศาสตร์ คืออะไร?
“สังคมศาสตร์ เป็นวิชาที่พยายามทำความเข้าใจและอธิบายความเป็นจริงและกลไกของสังคมทางทฤษฎีในความหมายกว้างๆ ในประเภทเหล่านั้นฉันเชี่ยวชาญในเรื่อง gender และ sexuality นั่นก็คือเรื่องเพศนั่นเอง ”
อย่างนี้เอง หากเราได้ศึกษาต้นกำเนิดของกิจกรรมโดจินชิอาจนำไปใช้กับสังคมศาสตร์ได้อยู่บ้าง แค่อาจจะนะ ว่าแต่ทำไมคุณเป็นเมดในขณะที่ทำการวิจัยสังคมศาสตร์ล่ะ?
“ เดิมทีฉันสนใจสังคมศาสตร์ แต่เมื่อได้พิจารณาถึงสิ่งที่สนใจเป็นพิเศษ ก็คิดว่าควรศึกษาเรื่องนั้นๆจากกรอบของสังคมศาสตร์น่าจะดีกว่า ตั้งแต่ตอนที่ฉันยังเด็กได้ลองเป็นโอตาคุหลายๆแนวเลย (หัวเราะ) หลังจากเข้ามหาวิทยาลัยฉันกลายเป็นโอตาคุไอดอล จากนั้นฉันก็หลงใหลนักพากย์หญิง และก็ยังชอบไอดอลสองมิติด้วย และที่สุดยอดกว่านั้นก็คือเมดคาเฟ่ ในระยะเวลา 2 ปี ฉันไปเมดคาเฟ่ 500 ครั้งได้ ”
เฮ้ …ในหนึ่งปีมีแค่ 365 วัน! ?? และใน 2 ปีมี 730 วันนะ! ?? นั่นเป็นเรื่องน่าตกใจที่คุณไปเมดค่าเฟ่ถึง 500 ครั้ง
“เมดคาเฟ่ก็เช่นเดียวกัน เพราะมันมีเนื้อหาที่ขายไอดอลหญิงและความเป็นผู้หญิง จึงถูกมองว่ามันไม่ดี? เพราะมันคือ “การค้าทางเพศ” หรือเปล่า? ฉันมักจะได้รับความคิดเห็นประมาณนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวจะนำไปสู่การผลิตซ้ำและการเสริมสร้างบรรทัดฐานทางเพศใหม่ๆ ในคำวิจารณ์เหล่านั้นก็มีส่วนที่เห็นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคิดพิจารณาอย่างจริงจังต่อไป แต่ถ้ากระโดดออกจากสิ่งนั้น คือปฏิเสธการทำงานในอุตสาหกรรมที่นำเสนอความเป็นผู้หญิงอย่างสิ้นเชิงหรือไม่ยอมรับเลย ก็จะเกิดความสงสัยว่าจะทำยังไงกับผู้หญิงที่ทำงานประเภทนั้นอยู่ในตอนนี้”
สมแล้วกับการที่เป็นนักวิจัยสังคมศาสตร์ เราได้รับการบรรยายเกี่ยวกับสังคมศาสตร์โดยไม่รู้ตัว
” ในช่วงเวลาที่ไปเมดคาเฟ่ มีครั้งหนึ่งที่รู้สึกประหลาดใจ คือว่ามีเมดคนหนึ่งพูดกับฉันว่า ‘ฉันไม่คิดว่าเฟมินิสม์(แนวคิดที่พูดถึงความเท่าเทียมทางเพศ)จะช่วยเหลืออะไรฉันได้’ แน่นอนว่าเมดก็เป็นผู้หญิงด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมาพวกเธอทำงานในขณะที่นำเสนอความเป็นผู้หญิง ดังนั้นพวกเธอจึงต้องเผชิญกับความกังวลและความทุกข์ใจที่เกี่ยวข้องกับเพศ แต่ว่าวาทกรรมของเฟมินิสม์ที่เมดอย่างพวกเธอเห็นก็ดูเหมือนจะไม่ช่วยอะไร ดังนั้นฉันคิดว่าฉันต้องพิจารณาเรื่องนี้อีกสักหน่อย
ก่อนอื่นถามเมดว่าพวกเธอมีประสบการณ์การทำงานแบบไหนและมีความสุขรวมถึงความยากลำบากอย่างไร แล้วจึงวิเคราะห์ว่ามีความสัมพันธ์กับประเภทดังกล่าวอย่างไร
ฉันต้องการสร้างแนวความคิดที่เฟมินิสม์ยืนหยัดร่วมกับพวกเธอได้ ”
โอ้ววววววว … ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีเลย นี่จะต้องออกข้อสอบอย่างแน่นอน! !! เราคิดในใจพลางจดเนื้อหาของการบรรยายลงในสมุดบันทึก แต่เดี๋ยวก่อนนะ นี่คือบทสัมภาษณ์ไม่ใช่แนวข้อสอบสักหน่อย
เราได้เข้าสู่การบรรยายเกี่ยวกับสังคมศาสตร์อย่างไม่รู้
เมื่อไปที่เมดคาเฟ่ ฉันก็กลายเป็นเมด
อย่างที่เข้าใจว่า เลโร่ซังกำลังศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทำงานในร้านเมดคาเฟ่จากมุมมองทางสังคมศาสตร์ แต่ทำไมกลับมาเป็นเมดซะเองล่ะเนี่ย … ?
“ ถ้าคุณไปเมดคาเฟ่เรื่อย ๆ พวกเธอจะจำหน้าคุณได้ และคุณจะสามารถพูดคุยได้มากกว่าการสนทนาแบบผิวเผิน มีการบอกเล่าถึงความสุขหรือความยากลำบากในการทำงานเป็นเมด หลังจากนั้นมันเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของฉัน
ฉันได้สัมภาษณ์เมดหลายคนในช่วงเวลานั้น จนได้พบกับกลุ่มที่ชื่อว่า “Maid Cafe Nomad-Kai” กลุ่มที่มุ่งส่งเสริม Nomad work ซึ่งคือการทำงานในร้านเมดคาเฟ่สาขาต่างๆ ดังนั้นเรายังจัดงานเพื่อ Nomad work ในสถานที่ที่เมดทำงานอยู่จริงๆ หากอธิบายให้เห็นภาพคือ เราจัดงาน Nomad work สำหรับเมด โดยเช่าเมดคาเฟ่หรือเช่าสถานที่ ฉันได้ลงทะเบียนในงานไว้ และในหนึ่งเดือนก็มีหลายครั้งที่ฉันทำงานเป็นเมดจริงๆเพื่อการค้นคว้าวิจัย ความจริงแล้วเมดคาเฟ่เหมาะกับ Nomad work มาก โดยมีเมดคอยเติมชาและกาแฟให้ ถ้าทำงานแล้วรู้สึกงานไม่คืบหน้าก็สามารถคุยกับเมดเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศได้ ”
โอ้ มีงานแบบนี้ด้วยหรือเนี่ย … เราก็อยากจะเขียนบทความสัมภาษณ์นี้ที่เมดคาเฟ่ดูบ้างจัง!!
“ฉันคิดว่า ตัวเองเข้าใจว่างานเป็นอย่างไรจากการที่ได้สัมภาษณ์เมด แต่พอได้ลองทำงานเป็นเมดจริงๆ มันลำบากกว่าที่คิดมาก ส่วนใหญ่เป็นงานเสิร์ฟ แต่การสื่อสารถือเป็นความสนุกน่าตื่นเต้นของงานเมดคาเฟ่ เราต้องคิดว่า ตอนนี้จะชวนคุยได้ไหม? หรือ จะถามอะไรดีนะ? สิ่งสำคัญคือต้องมีบทสนทนาที่เหมาะกับเจ้านายหรือคุณลูกค้าแต่ละคน ”
หากคุณสนใจ “Maid Cafe Nomad-Kai” ที่เลโร่ซังทำงานอยู่ทำไมไม่ลองดูล่ะ
● Maid Cafe Nomad-Kai
https://maid-cafe-nomad.connpass.com
แนะนำผลการวิจัยของเลโร่ซัง
กิจกรรมหลักของเลโร่ซัง คือการศึกษาสังคมศาสตร์ ดังนั้นเธอจึงเขียนบทความวิชาการหรือวิทยานิพนธ์เป็นหลัก แต่ก็มีหนังสือที่ตีพิมพ์โดยมีชื่อของเธอร่วมด้วย
” การที่จะให้ผู้คนรับรู้เป็นวงกว้างเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานของเมดหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเฟมินิสม์ ผ่านการตีพิมพ์แค่วิทยานิพนธ์ป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันได้เขียนหนังสือแบบนี้ขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะโพสต์ลงบนสื่อเว็บไซต์ ตอนนี้ก็กำลังจะมีส่วนร่วมในหนังสือ “Girls Media Studies” มันเหมือนกับเป็นการโปรโมต เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสื่อสมัยใหม่กับผู้หญิง ตัวอย่างเช่น SNS ที่เมดหลายคนกำลังใช้งานอยู่
เราใช้เวลาส่วนตัวโพสต์เรื่องราวต่างๆลงแอคเค้าท์ของร้านหรือบริษัทตัวเองใช่ไหมละ ถึงแม้มันจะไม่ใช่เวลาทำงาน แต่มันคือความสม่ำเสมอที่ต้องทำ แต่กลับไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนแบบนี้ก็เป็นเรื่องยากที่จะนำเสนอบุคลิกของตัวเองในฐานะเมดลงใน SNS ต่อไป หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่จับประเด็นปัญหาเหล่านี้ หากได้รับการตีพิมพ์แล้ว อยากให้คุณได้ลองอ่านดู ”
Girls Media Studies (สำนักพิมพ์โฮคุจุ)
วันที่ตีพิมพ์: 10 พฤศจิกายน 2020 (กำหนด)
เธอได้นำหนังสือที่เกี่ยวข้องมาให้เราดู
“กิจกรรมอื่นๆของฉันที่นอกเหนือจากนี้ … ถ้าพูดถึงเมดคาเฟ่เราก็จะนึกถึง อากิฮาบาระใช่ไหมละ ฉันมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของ NPO ของอากิฮาบาระด้วยนะ “Licolita” ที่เป็นสมาคมพลเมืองที่มีส่วนช่วยเหลือสังคมในอากิฮาบาระ” พูดง่ายๆก็คือพยายามมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมในขณะที่สนุกสนานในอากิฮาบาระ เราทำงานโดยได้รับความร่วมมือจากเมดและร้านค้าต่างๆในอากิฮาบาระ
ตัวอย่างเช่น ในทุกๆปีเมดจากร้านค้าต่างๆในอากิฮาบาระ จะมารวมตัวกันเพื่อราดน้ำลงบนพื้นถนน
เมื่อไม่นานมานี้ ฉันได้เข้าร่วมแคมเปญคลีนจักรยานที่จอดทิ้งไว้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานเขตจิโยดะร่วมกับเหล่าเมด และยังจัดให้มีการเผชิญหน้ากันระหว่างร้านค้าของเมดและร้านค้าในอากิฮาบาระ ในงานพาสปอร์ตที่จัดโดยโตเกียว …
ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นสำหรับทุกคนที่ชื่นชอบอากิฮาบาระได้มีการพูดคุยสื่อสารระหว่างเมดด้วยกัน ฉันรู้สึกมีความสุขเพราะสามารถมีส่วนร่วมในการทำสิ่งต่างๆกับเมด “Licolita” คือการที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจชื่นชอบ พร้อมกับการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ”
ยอดเยี่ยมมากทั้งชื่อและเนื้อหากิจกรรม! !! เราในนามของ Doujin World ก็จะพยายามให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่!!
●Licolita สมาคมพลเมืองช่วยเหลือสังคมในอากิฮาบาระ
อีเว้นท์ยอดนิยม “うち水っ娘大集合 หรือสาวน้อยรวมตัวกันราดน้ำ!” จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2004 แต่เนื่องจาก ปีนี้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จึงไม่ได้รวมตัวกันอยู่ในที่เดียว แต่เหล่าเมดทั้งหลายได้ยืนประจำที่หน้าร้านแต่ละร้านแทน ภายใต้ชื่อ “ราดน้ำเปิดร้าน เริ่มแล้ว” มาเข้าร่วมสนับสนุนงานนี้กับคนที่รักอากิบะ และทำให้อากิฮาบาระเป็นเมืองสะดวกสบายกันเถอะ
กำหนดการ: 1 สิงหาคม – 31 สิงหาคม 2020
*ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Licolita ด้านล่างนี้
อยากให้คุณได้ลองสัมผัสกับเมดคาเฟ่โดยไม่มีอคติ
ขณะนี้วัฒนธรรมโอตาคุของญี่ปุ่นกำลังได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกและนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากต่างประเทศก็ต่างเพลิดเพลินกับอากิฮาบาระ “งานวิจัยเกี่ยวกับเมดที่ทำงานในเมดคาเฟ่” ของเลโร่ซังเอง ก็คงจะข้ามท้องทะเลได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก
“แน่นอนว่าคนต่างประเทศรวมถึงคนญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน… แม้จะพูดว่าเป็นเมดคาเฟ่ แต่สีสันของแต่ละร้านก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังมีสถานที่ที่คุณสามารถเพลิดเพลินกับสิ่งที่เรียกว่า “Moe Moe Kyun” ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเมดคาเฟ่ที่มีบรรยากาศสงบและคลาสสิก คงจะดีมากถ้าคุณได้ลองสัมผัสหาประสบการณ์ก่อนจะค้นพบเมดคาเฟ่ที่เหมาะกับคุณ แทนที่จะตัดสินด้วยภาพลักษณ์ทั้งที่ไม่เคยได้สัมผัส คิดว่ามันจะกลายเป็นบ้านหลังที่สองของคุณอย่างแน่นอน ”
ขอบคุณเมดที่ช่วยเยียวยาความเหนื่อยล้าของเรา และยังเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มแสนอร่อย !!
เมดคาเฟ่ที่ต้อนรับลูกค้าด้วยคำว่า “โอะคาเอรินะไซ หรือยินดีต้อนรับกลับบ้าน” ซึ่งเป็นคำพูดที่ดู “ธรรมดา” แต่มันกลับ “ไม่ธรรมดา” เลย จนฉันอยากจะนำกลับไปพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของการบริการ
Twitter: @rero70
Follow @doujinworld
Writer
Shiro Sato