2021.01.22
ปลายทางของโดจินคือการไม่มีกำไร? จะไม่ “จำหน่าย” อะไรเลยแม้แต่สักนิดเดียว
แม้ว่าคุณจะซื้อของต่างๆที่จุดขายของโดจินชิ แต่คุณก็ไม่ใช่ “ลูกค้า”
บางทีคุณอาจจะเคยพูดว่า… “อร๊าย ฉันซื้อหนังสือฉบับล่าสุดของกรุ๊ปที่กำลังหมายตาอยู่ได้ด้วยแหละ”
แต่ช้าก่อน… โดจิน คือ “กลุ่มคนที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน”
ไม่ว่าคุณจะเข้าร่วมกรุ๊ปแวดวงหรือไม่ ถ้าคุณมีความรู้สึกร่วมกัน มีความเห็นตรงกัน คุณก็คือ “พวกเราโดจิน”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบ “ผู้ผลิตกับผู้บริโภค” ในการซื้อขาย ไม่นับรวมว่าเป็นโดจิน
ดังนั้นในงานขายของโดจินชิส่วนใหญ่ โดยหลักการแล้วสิ่งที่แวดวงโดจินชิ นำมาจะไม่ใช่ “สินค้า” แต่เป็น “สิ่งของที่แจก” ไม่ใช่ “การขาย” แต่เป็น “การแจกให้”
ทั้งที่ความจริงแล้ว งาน “คอมมิคมาร์เก็ต” ก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นงาน “ขาย” ของโดจินชิ จึงเกิดความรู้สึกว่ามีความขัดแย้งอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม อย่ามาที่งาน”ขาย” ของโดจินชิ ในฐานะของลูกค้า แต่ควรมาในฐานะของหนึ่งในผู้เข้าร่วมงาน “ขาย” ของโดจินชิ
เอาละ..บางคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่าแจกให้ มีความหมายว่าอย่างไรกันนะ? เมื่อค้นดูในพจนานุกรม จะเขียนไว้ว่า “แจกให้กว้างและการกระจายให้ทั่ว” อ่อ อย่างนี้นี่เอง.. “มาเผยแพร่เจตนารมณ์และความนึกคิดของพวกเราให้กว้างไกลเถอะ! งั้นเรามาร่วมแชร์ค่าใช้จ่ายกันคนละนิดเถอะนะ!” จากคำพูดดั่งกล่าว จึงมีค่าหนังสือค่าสินค้าที่ยกขึ้นมาเป็นข้ออ้าง ถ้าอย่างนั้นใช้ “แจกจ่าย” แทนคำว่า “แจกให้” ไม่ถูกต้องกว่าหรือ? ซึ่งมันน่าจะเป็นอย่างนั้น
แต่ว่าในกรณีนี้คงไม่เหมาะสม เพราะจะกลายเป็นว่า “เป็นการแจกจ่ายแบบทางเดียว คือ แจกไปทั่วให้ใครก็ได้!”
ไม่ใช่ทั้งการ “จำหน่าย” และไม่ใช่ “แจกจ่าย” … เนื่องจากคำว่า “แจกให้” เป็นคำที่อยู่ในระดับปานกลางกำลังดี ดังนั้นจึงเลือกใช้คำนี้สินะ
อย่างไรก็ตามคำว่าแจกให้ นอกจากในจุดขายของโดจินชิแล้ว ยังมีใช้ที่อื่นอีก เช่น เครื่องรางและตราประทับในศาลเจ้า ถ้าจำไม่ผิด…สิ่งนี้ก็ไม่ใช่การ “จำหน่าย” แต่เป็นการนำถวายให้กับเทพเจ้า ภายใต้ชื่อ “ค่าธรรมเนียมฮะซึโฮะ”
แม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ให้ผลกำไรตามกฎหมาย
แต่ต้องไม่ละทิ้งเจตนารมณ์ ในงานขายสินค้าโดจินคือ “งานที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและเพลิดเพลินอย่างเท่าเทียมกัน” สำหรับทั้งผู้ที่อยู่ในกรุ๊ปแวดวงและผู้เข้าร่วมทั่วไป
กิจกรรมโดจิน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่าย แต่เป็นการแจกเผยแพร่สิ่งของที่แสดงถึงเจตนารมณ์และความนึกคิดโดยไม่ได้หวังผลกำไร ถึงแม้จะพูดอย่างนั้นก็ตาม แต่ในแง่กฏหมายมันไม่ใช่เรื่องง่าย หากมีการแลกเปลี่ยนเงิน ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ถือเป็น “กิจกรรมแสวงหาผลกำไร”ไปซะอย่างนั้น
ในระยะหลังมานี้ การผลิตนิตยสารโดจินและCD ทำได้ง่ายขึ้น ได้ยินมาว่ามีกรุ๊ปแวดวงจำนวนมากขึ้น ที่เข้าร่วมการขายของโดจินชิ เพื่อหารายได้จากการทำกำไร โดยการตั้ง “ราคา” ที่สูงกว่าต้นทุนที่แท้จริงอย่างมาก
นอกจากนี้ “ผู้ขาย” ที่นำของแจก มา “จำหน่าย” ก็มีคำพ้องความหมายคือ “ผู้ชื้อ” ทั้งสองคำได้กลายเป็นคำทั่วไปแล้ว
เมื่อ “กิจกรรมแจกของ” อันล้ำค่ากลายเป็นเพียงการเล่นคำ
วัฒนธรรมโดจินก็เลือนหายไป และกลายเป็น “กิจกรรมส่งเสริมการขายของกลุ่มมือสมัครเล่น” ไปเสียแล้ว
คาดหวังเหลือเกินว่า ผู้เข้าร่วมแต่ละคนที่มารวมตัวกันในงาน จะมีความมุ่งมั่นจริงจังและมีการพัฒนาในก้าวต่อไป
Follow @doujinworld
Writer
Shiro Sato