2021.03.14
แนวคิดของสิ่งที่เรียกว่าCoupling สิ่งสำคัญสำหรับงาน BL
“Coupling” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการสร้างสรรค์งาน BL (BOYS LOVE /เรื่องราวความรักระหว่างชายกับชาย)
ครั้งนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับCoupling ในประเภทของ BL ดังกล่าว
Coupling คืออะไร?
เหมือนกับตัวอักษรตามคำอ่านของ Coupling เลย คือเป็นการเชื่อมโดยนำตัวละครสองตัวเข้าด้วยกัน
แนวคิดของ Coupling ที่ใช้ระหว่างโอตาคุ ไม่ได้หมายถึงแค่งานแนว BL เท่านั้น แต่ยังใช้ในงาน NL (ความรักธรรมดา, เรื่องราวความรักระหว่างชายกับหญิง) และงาน GL (Girls love, เรื่องราวความรักระหว่างหญิงกับหญิง)
และในการสร้างสรรค์ผลงานต่อที่2 โดยการ Coupling ภายในผลงานเดียวกัน จะแบ่งย่อยออกเป็นประเภทต่างๆแล้งจึงเผยแพร่หรือจำหน่ายผลงาน
อย่างไรก็ตาม Coupling มักเรียกสั้น ๆ ว่า CP หรือคัป ต่อจากนี้เราจะขอเรียกว่า CP
พื้นฐานของ Coupling ในการสร้างสรรค์ผลงานต่อที่2
ในงาน BL นั้น โดยทั่วไปแล้ว CP จะเขียนว่า “ตัวละครA x ตัวละครB”
ในกรณีของ CP ข้างต้น เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้ว่า ตัวละครA แสดงบทบาทชาย (ฝ่ายรุก) และตัวละครB แสดงบทบาทหญิง (ฝ่ายรับ) เป็นการบรรยายทางเพศ
ในทางตรงกันข้ามถ้าตัวละครB เล่นบทผู้ชายและตัวละครA เล่นบทผู้หญิงก็จะเขียนว่า “ตัวละครB x ตัวละครA” ดังนั้นควรทำความเข้าใจสัญลักษณ์บ่งชี้ให้ดี
นอกจากนี้ ตัวละครที่เล่นบทชาย ยังมีชื่อเรียกว่า “ฝ่ายรุก” “ทาจิ” “ฝั่งซ้าย” “ด้านบน” ฯลฯ และตัวละครหญิงเรียกว่า “ฝ่ายรับ” “แมว” “ฝั่งขวา” “ด้านล่าง” ฯลฯ (ต่อจากนี้ในข้อความจะใช้คำว่า ฝ่ายรุกแทนบทบาทชายและฝ่ายรับแทนบทบาทหญิง)
ทั้งฝ่ายรุกและฝ่ายรับต่างก็มีความละเอียดอ่อนมาก และสาววายหลายคนคิดว่าสามารถยอมรับได้เฉพาะ CP แนวที่จำกัดไว้เท่านั้น
ในหลายๆครั้งเกิดความผิดพลาดในการใช้สัญลักษณ์บ่งชี้และการตีความที่ผิดทำให้เกิดปัญหาระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากเกี่ยวกับสัญลักษณ์ CP ของงาน
ในเรื่องของปัญหาที่ผู้เขียนเคยได้ยินมา ก็คือ มีกรณีหนึ่งที่ ผลงานถูกจัดจำหน่ายโดยใช้สัญลักษณ์เป็น “ตัวละครA x ตัวละครB” แต่เมื่อดูคำบรรยายบทบาททางเพศกลับเป็นผลงานประเภท “ตัวละครB x ตัวละครA” (เขียนฝ่ายรุกและฝ่ายรับสลับกัน)
ผู้เขียนท่านนั้นยืนยันว่า “ฉันคิดว่างานของตัวเองเป็นผลงาน “ตัวละครA x ตัวละครB” และควรจัดจำหน่ายในรูปแบบ “ตัวละครA x ตัวละครB” แต่หลังจากการเผยแพร่แล้ว ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่านจำนวนมาก
ในกรณีนี้หากไม่มีคำบรรยายเรื่องเพศในผลงาน ก็อาจจะได้รับการยอมรับในประเภท “ตัวละครA x ตัวละครB” ก็ได้
อย่างไรก็ตามหากมีการบรรยายถึงเรื่องเพศและเป็น “ตัวละครB x ตัวละครA” ก็ควรเผยแพร่ในประเภทที่สอดคล้องกับเนื้อหาบรรยายนั้น
ดังนั้นการใช้สัญลักษณ์ CP มีหลายครั้งที่ถูกปล่อยให้เป็นเรื่องของนักเขียน และตีความตามความคิดของตัวนักเขียนเอง ก็มักจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง
สุดท้ายนี้ ควรหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว โดยคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ CP ที่ตรงกับบทบาทในคำบรรยายเรื่องเพศ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของสัญลักษณ์ CP นั่นเอง
โลกของCoupling
สำหรับสาววายแล้ว ถ้ามี ” CP แนวสุดโต่ง” คือ มีแค่บางผลงานที่ยอมรับให้อยู่ในประเภทของ CP แนวที่จำกัดไว้เท่านั้น แน่นอนว่าก็ย่อมมี “แนวเสพไม่เลือก” ที่ชื่นชอบและสนุกกับ CP ทุกแนวทั้งหมดเท่าๆ กัน
นอกจากนี้หากเป็น CP ของตัวละครA หรือตัวละครB โดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรุกหรือเป็นรับก็ได้ทั้งสองอย่าง จะถูกเรียกว่า ” แนวริบะ ” (ย่อมาจาก reversible แปลว่า กลับหัวกลับหาง) และยังมี “แนวรับทั้งหมด” ที่ต้องการให้ตัวละครA ถูกกำหนดไว้ในฐานะฝ่ายรับ และเป็นที่หลงรักของตัวละครอื่นๆ(ตัวละครอื่นๆมารุมหลงรักA) ซึ่งเป็นการวางแนวของสาววายที่มีความหลากหลาย
ในกรณีของงาน CP จำกัดแนว มีสัญลักษณ์คือ “ตัวละครA x ตัวละครB” แต่อย่างเช่น หากเป็นงานแนวริบะ จะมีการสร้างสัญลักษณ์ “ตัวละครA x ตัวละครB x ตัวละครA” ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มหมายเหตุเพื่อให้รับรู้ว่าเป็นงานแนวริบะ
นอกจากนี้ในกรณีของสัญลักษณ์ “ตัวละครA x ตัวละครB x ตัวละครA” นี้ หมายถึง “ตัวละครA x ตัวละครB ” เป็นตัวหลักของเรื่อง และการพรรณนาถึง “ตัวละครB x ตัวละครA” รวมอยู่ในรูปแบบขององค์ประกอบย่อยด้วย
ในทางตรงกันข้ามถ้า “ตัวละครB x ตัวละครA ” เป็นตัวหลักของเรื่อง สัญลักษณ์ที่ใช้ก็จะเปลี่ยนเป็น “ตัวละครB x ตัวละครA x ตัวละครB” ตามความเหมาะสม
ในกรณีของ CP ที่เป็นแนวที่เรียกว่าความสัมพันธ์แบบรักสามเส้า ซึ่งตัวละครA และตัวละครB เป็นฝ่ายรุก โดยมีตัวละครC เป็นฝ่ายรับ แนวนี้ยังไม่มีสัญลักษณ์ที่ระบุวิธีการใช้อย่างชัดเจนไว้ จึงมีผู้เขียนที่ใช้สัญลักษณ์หลากหลาย เช่น “ตัวละครA x ตัวละครC x ตัวละครB” หรือ “ตัวละครA x ตัวละครB x ตัวละครC” หรือ “ตัวละคร A →ตัวละครC ←ตัวละครB” หรือ “ตัวละครC Sand” เป็นต้น
ความหลากหลายผันผวนของสัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นปัญหาที่ในอนาคตต้องปรับปรุงในงานประเภท BL ทั้งหมด
ส่วนวิธีที่เหมาะสมในการหลีกเลี่ยงปัญหาในยุคปัจจุบัน และเรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด นั่นคือ เพิ่มประกาศแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในSNS และเขียนหมายเหตุบันทึกย่อที่เข้าใจง่าย
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในจำนวนนักเขียนที่มากมาย ขอแค่สักคนเดียวก็ยังดี ที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่างนี้ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดจินชิได้อย่างสนุกสนาน
คุณรู้ไหมว่า สำหรับงานประเภทBLนั้น CP ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด?
บางครั้งหลักการ CP ในหมู่สาววายอาจนำไปสู่ปัญหา แต่ในทางกลับกัน มันก็สามารถเป็นสิ่งผลักดันเหมือนกับประตูนำไปสู่โมเอะใหม่ๆได้
ความรู้เกี่ยวกับ CP อาจจะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ชีวิตโดจินที่ดีขึ้น
Follow @doujinworld
Writer
Shuuuuhi