2021.01.20
คำที่ในต่างประเทศก็สามารถสื่อสารเข้าใจ? “Eshi” คืออะไร
คำศัพท์พื้นฐานในโลกคำใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้น ในโลกของโดจินอีกแล้ว
คำภาษาญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมโดจิน เช่น “Manga” “Otaku” “Cosplay” “Moe” และ “Hentai” ในต่างประเทศเองมักสื่อสารเข้าใจทั้งแบบนั้นเลย (แม้ว่าความหมายจะแตกต่างกันเล็กน้อย) และตอนนี้คำว่า “Eshi” ก็กำลังข้ามน้ำข้ามทะเลค่อยๆแพร่กระจายไปในหมู่โอตาคุต่างประเทศ
ในความเป็นจริง แค่ดูจากการสะกดแบบนี้ บางคนอาจไม่เข้าใจความหมาย
คำตอบคือ “จิตรกร”
จากการสำรวจของเราพบว่า ประมาณ 30% ของโอตาคุต่างชาติ ต่างเคยได้ยินคำว่า “Eshi”
※ทาเก็ตในการสำรวจ: โอตาคุชายหญิง 30คน จากสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส อิตาลี และจีน
แต่เดิมคำว่า “จิตรกร” เป็นคำที่หมายถึงบุคคลที่วาดภาพวาดต้นฉบับ เช่นภาพอุกิโยะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น ในภาษาเดียวกันยังมี “ช่างวาด” และ “ผู้วาด” อีกด้วย
คำอธิบายต่างๆ มักพบในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น “นิฮง โชะคิ” อย่างไรก็ตามเมื่อประเพณีเหล่านี้ค่อยๆหายไป คำเหล่านี้ก็เปลี่ยนความหมายเดิม และหลังจากยุคเมจิ คำนี้ไม่เพียงแต่ใช้กับภาพวาดญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังใช้กับภาพวาดตะวันตกอีกด้วย
คำว่า “เอชิหรือจิตรกร” เริ่มใช้ในโลกโอตาคุในช่วงปลายทศวรรษ1980 เป็นตำแหน่งเหมือนนักวาดภาพประกอบ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในการวาดภาพและการออกแบบตัวละครในผลงานโดจิน
คำว่า “ชิ (หมายถึงนัก,ช่าง)” ชวนให้นึกถึง “นักพนัน” และ “ช่างฝีมือแรงงาน” มีการคาดเดาว่าเกิดการแพร่ขยายไป เนื่องจากความแตกต่างในยุคสมัยที่มีความเก่าและภาพลักษณ์ของความเป็นช่างฝีมือที่เหมือนกัน
แต่เดิมนั้น ได้ใช้คำว่า บรมครูทางประวัติศาสตร์ของการวาดภาพญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแสดงถึงความเคารพ
ในสาขาวัฒนธรรมย่อยที่เรียกว่า “โดจิน” มีคนไม่น้อยที่บอกว่าไม่ควรใช้ชื่อดังกล่าว สำหรับเรียกนักวาดภาพประกอบ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกัน ดังนั้นนักวาดภาพประกอบที่มีชื่อเสียงที่ปกติเรียกว่า “จิตรกร” จึงไม่เรียกตัวเองว่า “จิตรกร” แต่มักเรียกตัวเองว่า “ช่างวาด” เป็นจำนวนมาก
การที่เรียกตัวเองว่า “ช่างวาด” กลายเป็นเรื่องปกติ และยังดูถูกตัวเองด้วยคำเรียกอื่นๆ เช่นคำว่า จิตรกรระดับล่าง
จิตรกรไร้ฝีมือ จิตรกรฝึกหัด เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของคนญี่ปุ่นที่ไม่กระตือร้นและกดตัวเองให้ต่ำ
ในบางกรณี จะมีแบ่งประเภท เช่น “จิตรกรด้าน○○”
แม้ว่าคุณจะพูดคำว่า “เอชิหรือจิตรกร” แต่ก็มีจุดถนัดและไม่ถนัด ตัวอย่างเช่น ผู้ที่วาดแต่ตัวการ์ตูนสาวสวย จะเรียกว่า “โมเอะเอชิ” และคนที่วาดภาพประกอบโดยเน้นที่เด็กผู้หญิงและเด็กสาวเรียกว่า “โลลิเอชิ”
จากที่แต่เดิมผู้ที่วาดภาพอุคิโยะดั้งเดิมมีคำเรียกแค่ว่า “จิตรกร” และการแบ่งประเภทนั้นประเภทนี้ในโลกของโดจินตามยุคสมัย อาจเป็นกระแสตามธรรมชาติก็เป็นได้
Follow @doujinworld
Writer
Shiro Sato